ค้นหาทะเบียนรถ
ทำนายเลขทะเบียนรถ
สาระน่ารู้เรื่องประกัน
เมื่อ : 19/09/2561 12:40:13 ชม : 47

สาระน่ารู้เรื่องประกัน

สิ่งที่ต้องเตรียมมาในวันที่จะแจ้งเคลม ทั้งแบบมีคู่กรณี หรือไม่มีคู่กรณี

1.กรมธรรมประกันภัย

2.ใบขับขี่ผู้เกิดเหตุ (กรณีเปลี่ยนชื่อ นามสกุลรบกวนแนบใบเปลี่ยนชื่อสกุลมาด้วย)

3.สำเนาทะเบียนรถ

4.คู่มือรถ

5.นำรถคันเกิดเหตุมาด้วยนะคะ

6.ใบเคลม (กรณีที่ลูกค้าเรียกบริษัทประกันภัยไปที่จุดเกิดเหตุ)

 

เมื่อมาถึงศูนย์บริการแล้วสามารถติดต่อฝ่ายเคลมประกัน ได้เลยคะ เราจะมีเอกสารให้กรอกการเคลมประกันให้คะ  หลังจาทางส่วนของศูนย์บริการรับเรื่องแล้วทางเราจะดำเนินการแจ้งไปยังบริษัทประกันภัยหลังจากนั้นทางเราต้องรอให้ทางบริษัทประกันภัยอนุมัติเคลมนั้นๆมาก่อนเราถึงจะทำการจัดสั่งอะไหล่ (กรณีมีการเปลี่ยนชิ้นส่วนอะไหล่) เมื่ออะไหล่มาเราถึงจะนัดเข้าซ่อม นะคะ

 

ถาม-ตอบ

ถาม = ทำไมการแจ้งเคลมเรื่องมากจัง

ตอบ = การเคลมประกันรถยนต์ก็มีเงื่อนไขข้อบงชี้แล้ว ต้องเตรียมเอกสาร หรือการแจ้งเคลมอย่างไร เราต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขนะคะลูกค้าบางท่านอาจจะดูเป็นเรื่องยุ่งยากในการเตรียมเอกสารเพราะเราต้องจัดการให้ครบทุกขั้นตอนเพื่อที่จะนำเสนอบริษัทประกันภัยคะดังนั้นทางเราแนะนำให้ลูกค้าจัดเตรียมเอกสารมาให้พร้อมเพื่อลดขั้นตอนการติดตามเอกสารดีที่สุดคะ

 

ถาม = ทำไมแจ้งเคลมไปแล้วกว่าจะให้เข้าซ่อม ทำไมนานจัง

ตอบ = หลังจากทางศูนย์ฯ นำเสนอเคลมไปยังบริษัทประกันภัยทางเราต้องรอให้เจ้าหน้าที่บริษัทประกันภัย อนุมัติงานซ่อมทำมาก่อน เราถึงจะจัดสั่งอะไหล่และจัดคิวเข้าซ่อมได้  แต่ในการจัดคิวเข้าซ่อมนั้น  ทางเราเรียนให้ลูกค้าทราบเบื้องต้นก่อนนะคะว่าปริมาณงานซ่อมทำเรามีเยอะมาก เนื่องจากการเกิดอุบัติเหตุมีปริมาณสูงตกเฉลี่ยแล้วลูกค้าแจ้งเคลมวันละใม่ต่ำกว่า 5 คันซึ่งเฉลี่ยแล้ว ใน  1 เดือน  มีลูกค้ามาเคลมงานไม่เบา-ปานกลาง 125 คัน/เดือนเลยทีเดียวคะดังนั้น ทางเราขอเรียนแจ้งว่า การนัดเข้าซ่อมงานเราต้องจัดคิวให้ลูกค้าคะจะมีเจ้าหน้าที่โทรแจ้งเข้าซ่อม แต่ขอนัดไวคราวๆ ว่าหลังจากประกันอนุมัติเราจะโ?รแจ้งไม่เกิน 2-3 เดือนนะคะ  เราเห็นลูกค้าสำคัญเสมอคะแต่เรามีคิวงานเยอะมากคะ เลยทำให้ลูกค้าไม่ประทับใจตรงจุดนี้คะ กราบขออภัยไว้ ณโอกาสนี้ด้วยนะคะ

 

ถาม = ทำไมมาเคลมแล้วต้องเสียค่า Excess หรือ Deductible ด้วยแล้วสองอย่างนี้แตกต่างกันอย่างไร

ตอบ = ประการแรกขอตอบความแตกต่างระหว่างค่า Excess และ Deductible ก่อนนะคะ

ค่า Excess คือ ค่าเสียหายส่วนแรกที่ลูกค้าจะต้องเสียเมื่อเข้าเงื่อนไขประกันภัย คือ

กรณีเรียกเก็บค่าความเสียหายส่วนแรก

1. รถถูกขีดข่วน/กลั่นแกล้ง

2. หินหรือวัสดุใดกระเด็นใส่ (ในส่วนของตัวถังที่ต้องเกี่ยวเนื่องกับการซ่อมสี)

3. เฉี่ยวกิ่งไม้/สายไฟ/ลวดหนาม (บาดแผลไม่ชัดเจน)

4.เหยียบตะปู / วัสดุมีคม /ยางฉีก

5. รถถูกละอองสี /หรือวัสดุใดหล่นมาโดน

6. กระจกรถแตก (โดยการถูกกลั่นแกล้ง)

7. ถูกวัสดุในตัวรถกระแทกหรือกรีดโดน

8. รถถูกสัตว์กัดแทะหรือขีดข่วน

9. กรณีอื่นๆแจ้งเหตุไม่ชัดเจน

 

ค่า Deductible คือ ค่าเสียหายส่วนแรกสำหรับการเปิดเคลมในทุกๆ ครั้งซึ่งระบุอยู่ในกรมธรรม์ของลูกค้าเองคะ ลูกค้าสามารถตรวจสอบได้เลยว่าต้องเสียค่า Deduct หรือไม่ ซึ่งอยู่ในช่องความคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์ ข้อ 1.1 ในกรมธรรมหากมีระบุไว้ ลูกค้าจะต้องเสียค่าเสียหายนี้เสมอในทุกๆ การเปิดเคลม หรือซ่อมทำ ถ้าหากเราเป็นฝ่ายถูกเราไม่ต้องจ่าย ค่าเสียหายส่วนแรก แต่ถ้าเราเป็นฝ่ายผิด หรือประมาทร่วม เราต้องจ่ายเงิน ค่าเงินค่าเสียหายส่วนแรก จำนวนเงินในการจ่ายก็ประมาณ 2,000-5,000 บาท เราอาจจะเลือกให้มีค่าเสียหายส่วนแรก โดยเบี้ยประกันจะลดไปในตัว

แล้วทำไมถึงต้องเสียค่าเสียหายประเภทนี้  กล่าวถึงคำตอบด้านบนเมื่อลูกค้า มาแจ้งเคลมและเข้าเงื่อนไขตามรายละเอียดด้านบน ลูกค้าก็ต้องเสียค่า Excess หรือ Deduct เสมอคะ ข้อแตกต่าง คือค่า Excess ในการเปิดเคลมแต่ละครั้งเมื่อเข้าเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งใน 9 ข้อด้านบน ถึงจะเสียคะค่าใช้จ่ายในการเสียโดยประมาณที่เคยเห็นอยู่ที่ 1,000 บาทต่อ1 จุดการเคลม

ตัวอย่าง

ลูกค้าถูกก้อนหินกระเด็นใส่เป็นรอยนิดหน่อย ประมาณ 1-3 จุด แต่อยู่คนละส่วนของการทำ รอยแรกอยู่ฝากระโปรงรอยที่ 2 และ 3 อยู่บังโคลมซ้ายทางลูกค้าก็ต้องเสียค่า Excess คือ 2,000 บาท เป็นต้นคะ

แต่ในทางกลับกันค่า Deduct  เขาจะกำหนดไว้ตายตัวว่าทางลูกค้าต้องเสียค่าเสียหายร่วมเท่าไหร เช่น ระบุไว้ว่า 3,000 บาท / 1 ครั้ง ในการเปิดเคลมลูกค้าต้องมาเสีย 3,000บาท เสมอ และหากมีค่า Excess แบบเข้าเงื่อนไขลูกค้าก็จะต้องเสียค่าใช้จ่ายส่วนนี้เพิ่มด้วยคะ

 

 

 

 

การเคลมแบบไม่มีคู่กรณี

 

     การเคลมแบบไม่มีคู่กรณีนี้จะ สามารถเคลมได้กับรถยนต์ที่ประกันภัยรถยนต์ประเภทที่  1 เท่านั้น การประกันรถประเภทอื่นๆ ไม่สามารถเคลมสีรถยนต์ในกรณีเช่นนี้ได้  ซึ่งโดยส่วนใหญ่เมื่อเกิดเหตุแล้วผู้เอาประกันจะไม่เรียกพนักงานเคลมมาเปิดเคลมเลยแต่จะมาเปิดเคลมอีกทีภายหลัง เมื่อผู้เอาประกันต้องการซ่อมรถในทางประกันจึงเรียกกันอีกชื่อว่าการเคลมแห้ง คำว่ามีคู่กรณีในที่นี้หมายถึง บริษัทประกันสามารถไปเรียกเก็บค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจากอีกฝ่ายหนึ่งในกรณีที่ผู้ประกันเป็นฝ่ายถูกหรือ ต้องชดใช้ให้แก่คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งเนื่องมาจากความเสียหายที่เกิดขึ้นในกรณีที่ผู้เอาประกันเป็นฝ่ายผิดเนื่องจากเมื่อมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นและมีการชนกันไม่ว่าจะเป็นรถยนต์กับรถยนต์หรือชนกับสิ่งอื่นที่เกิดจากบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งนั้นในทางประกันจะต้องมีการสรุปผลว่าอุบัติเหตุดังกล่าวเกิดจากความผิดของฝ่ายใดซึ่งฝ่ายที่ผิดท้ายที่สุดแล้วก็ต้องมีการชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้น 

 

     ดังนั้นในกรณีที่มีคู่กรณีจึงต้องมีการแจ้งประกันทุกครั้งเพื่อให้ขั้นตอนของการชดใช้ค่าเสียหายดำเนินไปได้การที่ไม่สามารถแจ้งคู่กรณีได้จึงทำให้ผู้ประกันต้องมีการจ่ายค่าส่วนร่วมเนื่องจากไม่ทราบคู่กรณีแต่ในกรณีที่การเกิดอุบัติเหตุเกิดจากตัวผู้ขับขี่ฝ่ายเดียวไม่เกี่ยวกับความประมาทหรือเกิดจากหรือเกิดร่วมกับบุคคลอื่นจึงถือเป็นการเคลมแบบไม่มีคู่กรณี ซึ่งการเคลมลักษณะนี้จะถือว่าผู้เอาประกันเป็นฝ่ายผิด

 

     โดยวิธีการเคลมแบบไม่มีคู่กรณีนี้ โดยปกติมี อยู่ 3 วิธี

 

1. การนัดทำเคลมกับพนักงานเคลมคือผู้เอาประกันแจ้งความประสงค์ไปที่บริษัทประกันว่าต้องการทำเคลมทางบริษัทประกันจะส่งพนักงานเคลมออกมาทำการเปิดเคลม ซึ่งอาจจะนัดเปิดเคลมในสถานที่ซึ่งผู้เอาประกันสะดวกไม่ว่าจะเป็นบ้านพักหรือที่ทำงานโดยพนักงานจะออกใบเคลมให้เพื่อนำรถเข้าซ่อม หรืออาจนัดเปิดเคลมที่ศูนย์บริการหรือที่อู่ ที่ต้องการซ่อมรถ เพื่อที่จะสามารถนำรถเข้าซ่อมได้เลยโดยการเปิดเคลมพนักงานเคลมก็จะถามว่าแต่ละแผลเกิดเหตุวันใดสถานที่เกิดเหตุคือที่ไหน ลักษณะการเกิดเหตุเป็นอย่างไร โดยแผลบางแผลหรือการตอบคำถามบางอย่าง อาจนำมาซึ่งการเสียส่วนร่วมได้เช่นถ้าบอกว่าไปเบียดกับรถคันอื่นมาก็เท่ากับว่าเสียส่วนร่วมเนื่องจากไม่มีคู่กรณีดังนั้นแนะนำว่าก่อนการเปิดเคลมผู้เอาประกันควรมีการเตรียมพร้อมสำหรับการให้ข้อมูลเพื่อป้องกันข้อผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นได้

 

2. บางบริษัทประกันให้สิทธิ์ศูนย์หรืออู่ทำหน้าที่ในการเปิดเคลมให้ลูกค้าได้เลย ซึ่งก็ถือว่าสะดวกกับทางลูกค้ามากเพียงแต่ตำแหน่งที่จะเปิดเคลมได้ในกรณีนี้อาจจะไม่มากชิ้นนัก และลักษณะแผลก็ต้องชัดเจนเช่นมีการเบียดเสามาจริงๆ แต่ถ้าแผลไม่ชัดเจน บางทีศูนย์หรืออู่อาจจะไม่กล้าเปิดหรือเปิดให้แต่อาจมีส่วนร่วมตามมาทีหลังได้

 

3. การเปิดเคลมทางโทรศัพท์คือผู้เอาประกันต้องโทรเข้าไปที่บริษัทประกันโดยแจ้งตำแหน่งของรถที่ต้องการเปิดเคลม เช่นกันชนหน้า ต้องบอกเวลา สถานที่และลักษณะการเกิดเหตุ โดยต้องมีการแฟกซ์ใบขับขี่เข้าไปให้บริษัทประกันด้วยโดยทางบริษัทประกันจะแฟกซ์หรือเมล์ ใบเคลมให้กลับมาเช่นกันโดยผู้ที่เป็นเจ้าของใบขับขี่ ต้องเซ็นต์ชื่อตัวเองในช่องที่อยู่ในแบบฟอร์มนั้นแล้วนำใบเคลมนี้เข้าไปที่อู่ โดยบริษัทประกันจะส่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายราคาเข้าไปตรวจรถว่ารายละเอียดของแผลที่แจ้งทางโทรศัพท์ ตรงกับแผลที่ปรากฎบนตัวรถหรือไม่ซึ่งก็เป็นที่มาของส่วนร่วมได้เช่นกันถ้าเข้าเงื่อนไขของการเก็บส่วนร่วม

ขอบพระคุณที่มาบทความ http://www.carszana.com

Tabienrod.Online © 2024 บริษัท ออนไลน์ขายดี จำกัด สถานที่ปฏิบัติงาน กรมการขนส่งทางบก จตุจักร กรุงเทพ
บอทตัวล่าสุดที่เข้ามาเก็บข้อมูล คือ
Google (66.249.71.168) วันนี้ เวลา 23.50 น.